โรคไตเรื้อรัง จะมีอาการไตวายเรื้อรังอันเกิดมาจากไตทีสูญเสียการทำงานทีละน้อย เมื่อโรคไตเข้าสู่ระยะท้าย ๆ ของเหลว เกลือแร่และของเสียที่สะสมในร่างกายจะสูงขึ้นในระดับที่อาจเป็นอันตรายได้

ผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง ในระยะแรกๆอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากไตมีการทำงานบกพร่องชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ ร่างกายจะแสดงอาการหลายอย่างออกมา ทั้งนี้การรักษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การชะลอความเสียหายของไต

โรคไตเรื้อรัง

อาการของโรคไตเรื้อรัง

– มีอาการอยากอาเจียนหรือคลื่นไส้

– มีอาเจียนออกมา

– มีอาการเบื่ออาหาร

– มีอาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย

– ประสบปัญหาการนอนหลับ

– ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป

– มีความเฉียบแหลมทางจิตใจลดลง

– มีกล้ามเนื้อกระตุกและเป็นตะคริว

– มีเท้าและข้อเท้าบวม

– มีอาการคันตามผิวหนังตลอดเวลา

– มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อมีของเหลวคั่งบริเวณเยื่อบุหัวใจ

– หายใจหอบถี่เมื่อของเหลวคั่งในปอด

– มีความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้

สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

– เบาหวานประเภท 1 และประเภท 2

– ภาวะความดันเลือดสูง

– เกิดการติดเชื้อในกลไกลการกรองของเสียของไต

– เกิดการติดเชื้อบริเวณท่อไตและโครงสร้างโดยรอบ

– มีความผิดปกติที่มีผลต่อไตและอวัยวะอื่นๆ

– การอุดตันอย่างต่อเนื่องในระบบทางเดินปัสสาวะเนื่องจากภาวะต่าง ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต เกิดนิ่วในไตและมะเร็งบางชนิด

– มีการไหลของปัสสาวะย้อนกลับเข้าไต

– เกิดการติดเชื้อซ้ำในไต

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง

– มีน้ำตาลในเลือดสูง

– มีภาวะความดันเลือดสูง

– มีโรคหัวใจและหลอดเลือด

– สูบบุหรี่

– มีน้ำหนักเกิน

– คนบางเชื้อชาติมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคไตเรื้อรัง

– กรรมพันธุ์

– โครงสร้างที่ผิดปกติของไต

– ความชรา

การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง

– การตรวจเลือด

– การตรวจปัสสาวะ

– การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่าย

– การตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ

การรักษา

– ยารักษาความดันโลหิตสูง

– ยาลดระดับคอเลสเตอรอล
– ยารักษาโรคโลหิตจาง
– ยาลดบวม
– ยาบำรุงกระดูก
– อาหารที่มีโปรตีนต่ำเพื่อลดปริมาณของเสียในเลือด

แต่หากโรคไตเรื้อรังอยู่ในระยะสุดท้าย แพทย์อาจแนะนำ:

– การล้างไต
– การปลูกถ่ายไต

ที่มา

nakornthon.com

vichaivej-nongkhaem.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ codecraftersinc.com